วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การใช้โปรแกรม Nero Wave Editor ในการตัดไฟล์เสียงเพลง


การใช้งานโปรแกรม Nero wave Editor

โปรแกรม Nero Wave Editor เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับบันทึกเสียงที่มาพร้อมกับโปรแกรมไรท์แผ่นซีดียอดนิยม นั่นก็คือโปรแกรม Nero ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนามาถึงเวอร์ชั่น 7 แล้ว โดยวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา
          Nero Wave Editor เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับบันทึกเสียงอะไรก็ได้ที่ผ่านเข้ามาทาง Sound Card เช่น สัญญาณเสียงจากเครื่องเสียงภายนอก (เทปคาสเซต เครื่องเล่นแผ่นเสียง วิดีโอเทป VCD/DVD หรือจากไมโครโฟนที่เราพูดหรือร้องเพลง หรือจากเสียงใดๆ ที่เราเปิดฟังจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเพลงจากเว็บต่างๆ) เป็นไฟล์เสียง Format ต่างๆ หลาย Format ครบถ้วนตามที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน เช่น .wav .mp3 .wma ฯลฯ นอกจากนั้นยังเรียกไฟล์ต่างๆ มาปรับแต่ง ตัดต่อ เพิ่มเติม ใส่ Effect เช่น Fade In – Fade Out ปรับความดัง ให้ดังขึ้น หรือเบาลง หรือปรับให้เสียงดังเท่ากันตลอดทั้งเพลง ฯลฯ

1. การเข้าโปรแกรม Start --> Programs --> Nero 7 ultra Editor --> เอาดิโอ --> Nero Wave Editor




2. เลือกรายการเพลงที่จะนำมาตัด จะเป็นไฟล์ที่เป็น mp3 หรือ wav ก็ได้  ไฟล์ --> เปิด




 3. เลือกเพลงที่จะนำมาตัด     คลิกเลือกเพลง --> เปิด




4. เมื่อเปิดเพลงแล้ว โปรแกรมจะเสดงคลื่นเสียง



5. ปุ่มเครื่องมือที่ใช้ควบคุม จากซ้ายไปขวา 1.เปิดเล่นส่วนเนื้อหา  2.เปิดเล่นทั้งหมด 3.การเปิดเล่นวน  
4.พัก 5.หยุด  6.บันทึก



6. เลือกท่อนเพลงที่ต้องการตัด คลิกซ้ายค้างไว้แล้วลากคลุมที่คลื่นเสียง    คัดลอก --> สร้าง



7. วางท่อนเพลงที่เลือกลงในหน้าใหม่   วาง



8. การ Save ไฟล์เพลง    บันทึก --> พิมพ์ชื่อเพลง --> เลือกนามสกุล --> save



9. จบขั้นตอนการตัดเพลง

อ้างอิง
ผู้แต่ง: อ.สมจิตร วิทยาลัยพยาบาล 19 มิ.ย. 50
ที่มา: http://www.dpck5.com/KM/IT/ac50_02/NeroWaveEditor.pdf

ข่าวสารเกี่ยวกับ คณะบริหารธุรกิจ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล







วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

IP Address คืออะไร


IP Address คืออะไร

       IP Address  คือหมายเลขประจำเครื่องที่ต้องกำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องและ อุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่ายเน็ตเวิร์ค โดยมีข้อแม้ว่าหมายเลข IP Address ที่จะกำหนดให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องหรืออุปกรณ์ต่างๆจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งเมื่อกำหนดหมายเลข  IP Address  ได้อย่างถูกต้องจะช่วยให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆในเครือข่าย รู้จักกันรวมถึงสามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้อย่างถูกต้อง โดย IP Address จะเป็นตัวอ้างอิงชื่อที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ตัวอย่างเช่น หากคอมพิวเตอร์  A  ต้องการส่งไฟล์ข้อมูลไปให้คอมพิวเตอร์  B  คอมพิวเตอร์  A  จะต้องรู้จักหรือมองเห็นคอมพิวเตอร์  B  เสียก่อน โดยการอ้างอิงหมายเลข  IP Address ของคอมพิวเตอร์ B ให้ถูกต้อง จากนั้นจึงอาศัยโปรโตคอลเป็นตัวรับส่งข้อมูลระหว่างทั้ง 2 เครื่องIP Address  จะประกอบไปด้วยตัวเลขจำนวน  4  ชุด ระหว่างตัวเลขแต่ละชุดจะถูกคั่นด้วยจุด  “.”  เช่น 
10.106.59. โดยคอมพิวเตอร์จะแปลงค่าตัวเลขทั้ง  4  ชุดให้กลายเป็นเลขฐาน  2  ก่อนจะนำค่าที่แปลงได้ไปเก็บลงเครื่องทุกครั้ง และนอกจากนี้หมายเลข IP Address ยังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
1.ส่วนที่ใช้เป็นหมายเลขเครือข่าย (Network Address)
2.ส่วนที่ใช้เป็นหมายเลขเครื่อง (Host Address)
ซึ่งหมายเลขทั้ง 2 ส่วนนี้สามารถแบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้ 5 Class ด้วยกันได้แก่ Class A, B, C, D 
และ E สำหรับ Class D และ E ทางหน่วยงาน InterNIC (Internet Network Information Center: หน่วยงานที่
ได้รับการจัดตั้งจากรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกมาตรฐานและจัดสรรหมายเลข  IP Address  ให้กับ
คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทั่วโลก) ได้มีการประกาศห้ามใช้งาน

     Class A หมายเลข  IP Address  จะอยู่ในช่วง  0.0.0.0  ถึง 127.255.255.255  มีไว้สำหรับจัดสรรให้กับ
องค์กรขนาดใหญ่ที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อภายในเครือ ข่ายจ านวนมากๆ
     Class B หมายเลข  IP Address จะอยู่ในช่วง 128.0.0.0 ถึง 191.255.255.255 มีไว้สำหรับจัดสรรให้กับ
องค์กรขนาดกลาง ซึ่งสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้มากถึง 65,534 เครื่อง
     Class  C หมายเลข  IP Address จะอยู่ในช่วง 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.255 มีไว้สำหรับจัดสรรให้กับ
องค์กรขนาดเล็กและใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในเครือ ข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ 254 เครื่อง
     Class D หมายเลข  IP Address  จะอยู่ในช่วง  224.0.0.0  ถึง  239.255.255.255  สำหรับหมายเลข  IP 
Address ของ Class นี้มีไว้เพื่อใช้ในเครือข่ายแบบ Multicast เท่านั้น
     Class E หมายเลข  IP Address  จะอยู่ในช่วง  240.0.0.0  ถึง  254.255.255.255  สำหรับหมายเลข  IP 
Address ของ Class นี้จะเก็บส ารองไว้ใช้ในอนาคต ปัจจุบันจึงยังไม่ได้มีการนำมาใช้งาน
Public IP และ Private IP แตกต่างกัน?บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเราจะได้รับการจัดสรร  IP Address  จากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  (ISP: Internet Service Providers)  ที่ใช้อยู่ ซึ่งเป็น  IP Address ของจริงหรือที่เรียกว่า “Public IP” แต่สำหรับการต่อเครือข่ายเพื่อใช้งานภายในบ้านหรือออฟฟิศต่างๆ เราจะใช้ IP Address ของปลอม หรือที่เรียกว่า “Private IP” ซึ่ง Class ที่นิยมใช้กันก็คือ  Class C  ที่อยู่ในช่วง  192.168.0.0  ถึง 192.168.255.0  โดยผู้ใช้หรือผู้ดูแลระบบจะสามารถเป็นผู้กำหนดหมายเลข IP Address แบบ Private IP ด้วยตนเองได้


วิธีตรวจสอบ IP Address
1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run
2.พิมพ์คำว่า แทก กดปุ่ม OK
3.จะได้หน้าสีดำ
4.พิมคำว่า รยแนืดรเ กด ENTER
5.กลุ่มหมายเลข IP Address จะปรากฏให้เห็น


ข้อมูลอ้างอิง









วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Lab1

TCP/IP คือ

          TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internetworking Protocol : TCP/IP)   คือ ชุดของ
โปรโตคอล (Protocol Suite)  ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใชสําหรับการแลกเปลี่ยนขอมูลบนเครือขาย
อินเทอรเน็ต หนาที่การทํางานของ TCP/IP  จะแบงหนาที่ความรับผิดชอบออกเปนชั้นซอนกัน
เรียกวา โปรโตคอลสเเต็ก (Protocol Stack) วัตถุประสงคหลักของโปรโตคอล TCP/IP ออกแบบมา
เพื่อใชงานบนเครือขายระยะไกลเปนสําคัญ แตโปรโตคอลดังกลาวยังสามารถใชไดดีบนเครือขาย
ภายในอยางเครือขายทองถิ่น ดวยการเชื่อมตอเครือขายทองถิ่นเขาดวยกันดวยโปรโตคอล TCP/IP
และเครือข่ายดังกล่าวก็ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังโลกภายนอกหรือเครือขายอินเทอรเน็ตไดและดวย
เหตนี้เอง ในปัจจุบันโปรโตคอล   TCP / IP  จงเป็นโปรโตคอลท  ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง
เครือขายอินเทอรเน็ตเปนเครือขายที่ประกอบไปดวยหลายพันเครือขาย ที่เชื่อมโยงเขา
ดวยกันทั่วโลก ซึ่งมีทั้งเครือขายที่เปนของหนวยงานรัฐ รวมทั้งเครือขายขององคกรที่มีทั้งแบบ
แสวงหากําไรและไมแสงหากําไร เครือขายอินเทอรเน็ตเปนเครือขายสาธารณะที่ผูคนทั่วไป
สามารถตอเขาใชงานไดแตหากเครือขายที่มีเจาของอยางเครือขายทองถิ่น หรือเครือขาย
ระดับประเทศที่ตองการเชื่อมโยงเครือขายสวนตัวของตนเขาสูเครือขายอินเทอรเน็ตอาจจําตองใช
เทคโนโลยีปองกันมิใหผูอื่นเขามาใชงาน หรือเขาถึงฐานขอมูลบนเครือขายสวนบุคคลของตนได
โดยทุกๆ เครือข่ายที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะต้องใช้มาตรฐานโปรโตคอล  TCP/IP


ความเป็นมาของ TCP/IP

      อินเทอรเน็ตไดริเริ่มขึ้นจากโครงการเครือขายที่เรียกวาอารพาเน็ต ภายใตกระทรวงกระ
หลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา (Pentagon’s Advanced Research Projects Agency: ARPA) 
เพื่อเป็นตัวแทนในการปกป้องประเทศ โดยอาร์พาเน็ตมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ใหนักวิทยาศาสตรที่วิจัยดานเทคโนโลยีที่อยูตามพื้นที่ตางๆ ซึ่งหางไกลกัน สามารถ
แลกเปลี่ยนข้อมูลระหวางกันได้ในโครงการวิจิยทางการทหาร
2. เครือข่ายดังกล่าวจะยังคงสามารถใช้งานต่อไปได้ถึงแม้ วาจะถูกโจมตี หรือถูกทำลายด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ก็ตาม







Lab exercise:
1) Note down the TCP/IP configuration of your machine:
To check the TCP/IP configuration, double click on the LAN icon on your taskbar (two small monitors on the right hand side of your taskbar that look like). Next, click on the Support tab of the window.













a. Note down the IP address configured on your machine?
Ans    192.168.1.2



b. What is the subnet mask?
Ans    255.255.255.0





c. Is the address manually configured, or assigned automatically through a server
(Hint: the name of the server that automatically configures IP address is called a “dynamic host configuration protocol’’ [DHCP] server)

Ans   192.168.1.1




d. What is the IP address of the default gateway? Is the gateway used for communication in the same network, or in communications with other networks?
Ans   ให้ที่อยู๋ IP ของอุปกรณ์และเร้าเตอร์ในกลุ่มเครือข่ายเดียวกันอย่างที่ตั้งค่าเริ่มต้นโดยทั่วไปเกตเวย์เริ่มต้นจะเป็นที่อยู่ IP ของเร้าเตอร์เพื่อให้ใส่ที่อยู่ IP ในบราวเซอร์เพื่อให้บรรลุการเข้าชมอุปกรณ์ LAN



2) Open a DOS command prompt (start > run > cmd), and use the tracert command on your machine to trace the route of a packet from your machine to the machine www.google.com.








a. What is the IP address of the first hop router?
Ans    118.174.24.49

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Provider)
คือ หน่วยงานที่ให้บริการการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ส่วนตัว หรือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เชื่อมต่อกับ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วโลก

ในประเทศไทยผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา
2.บริษัทที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตเชิงพานิชย์

ประเภทของบริการทางด้านอินเตอร์เน็ต

World wide web
คือการบริการค้นหาข้อมูลและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งข้อมูลอาจจัดอยู่ในรูปแบบ ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหวก็ได้ สมารถค้นหาและเชื่อมโยงไปยังข้อมูลต่างๆได้

Search Engine
คือบริการที่ใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้นลงไป โปรแกรมก็จะค้นหาข้อมูลที่ต้องการ เว็ปไซค์ที่ทำหน้าที่ Search Engine เช่น www.google.com เป็นต้น

E-mail (Electronic-Mail) 
คือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้ในการ รับ-ส่งจดหมายข้อความ ข่าวสารและไฟล์งานต่างๆได้ทั่วโลก แต่จำเป็นที่จะต้องมีที่อยู่ E-mail Address เพื่อใช้เป็นกล่องรับ-ส่งจดหมาย

Mailing Lists
รายชื่อกลุ่มสนทนา เป็นกลุ่มสนทนาประเภทหนึ่งบนอินเตอร์เน็ตที่มีการติดต่อสื่อสารและส่งข่าวสารให้กับสมาชิกตามรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิกที่มีอยู่ เช่น www.dailyjoke@lists.ivllage.com กลุ่มสนทนาเรื่องตลก

Usenet
คือ กระดานข่าวเป็นการรวบรวมของกลุ่มข่าว New group ซึ่งเป็นผู้สนใจในการที่จะติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตคนอื่นๆ ในปัจจุบันกลุ่มของ New group มีประมาณ 10000 กลุ่มที่สนใจในเรื่องต่างๆ เช่น ภาพยนต์ การ์ตูน ศิลปะ ฯลฯ

Online chat
เป็นการสนทนากันบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้สนทนาระหว่างบุคคล สนทนาแบบกลุ่ม และยังสามรถใช้ภาพกราฟฟิก หรือ ภาพเคลื่อนไหว ได้นอกจากการสนทนาแล้วยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ไฟล์ ต่างๆได้อีกด้วย

Telnet
เทลเน็ตเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สมารถใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังทำงานอยู่ ให้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล การใช้งานเทลเน็ตจะเป็นการแสดงข้อความตัวอักษร (Text Mode) การใช้งานจำเป็นต้องมี รายชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน แต่มีบางหน่วยงานที่ไม่ต้องใช้รหัสผ่านเป็นการให้บริการลูกค้าแบบทั่วไป

File Transfer Protrocol
คือการขนถ่ายไฟล์ หรือเรียกว่า FTP เป็นบริการที่ใช้แลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการไฟล์เรียกว่า FTP Server หรือ FTP Site
Gopher
เป็นโปรแกรมที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะของการค้นหาจากเมนู จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูล

Archie
เป็นการเข้าใช้บริการค้นหาข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายที่เป็น อาร์ซี เซิฟเวอร์ (Archie Server) ซึ่งเป็นแหล่งที่ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสถานที่ของข้อมูล และจะไปค้นข้อมูลจากสถานที่นั้นๆ

WAIS (Wide Area Information Servers)
เป็นบริการค้นหาข้อมูลจากศูณย์ข้อมูลที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต ที่ได้รวบรวมข้อมูลและดรรชนีเพื่อการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ

VERONICA
ย่อจาก very easy rodent-oriented net-wide index to computerized archives เป็นบริการที่รวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสิ่งที่ต้องการจะค้นหาได้อย่างรวดเร็ว

ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้นก็แล้วแต่ผู้ใช้บริการว่าต้องการใช้อินเตอร์เน็ตในด้านไหน เช่น
การค้นหาข้อมูล ดูหนัง ฟังเพลง Downloadข้อมูลต่างๆ ใช้ในการดำเนินงานธุรกิจ หรือใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ ก็จะใช้เงินทุนในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่แตกต่างกัน








วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คำศัพท์ในการใช้อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น

Browser

           คือเครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถท่องเที่ยวไปในโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร้ขีดกั้นทางด้านพรมแดน นอกจากนี้ Browser ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งในขณะนี้บริษัทผลิตซอฟแวร์ค่ายต่างๆ นับวันจะทวีการแข่งขันกันในการผลิต Browser เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่นักท่องเว็บให้มากที่สุด หน้าตาของ browser แตกต่างกันไปตามแต่การออกแบบการใช้งานของแต่ละค่ายโปรแกรม โปรแกรม Browser ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer และ Nescape Navigator
แม้ว่าโดยรวมแล้วทั้งสองมีหลักการทำงานที่ค่อนข้างคลายคลึงกัน แต่หน้าตาที่ผิดเพี้ยนกัน คือ ตำแหน่งเครื่องมือ และชื่อเรียกเครื่องมือ อาจทำให้คุณอาจเกิดการสับสนบ้าง หากว่าคุณใช้ Browser ค่ายใดค่ายหนึ่งเป็นประจำ วันหนึ่งคุณอาจสนใจหยิบ Browser ของอีกค่ายหนึ่งมาลองใช้งานดู ความสนุกในการท่องเว็บไซต์ของคุณอาจถูกบั่นทอนลง เพราะความไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือ




Client


            cliental adj. ดูclient ผู้รับบริการ1. ใช้ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่
(LAN) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่สามารถเรียกข้อมูลข่าวสารหรือโปรแกรมจากเครื่องบริการแฟ้ม (file server) มาใช้ได้ หรืออาจหมายถึงเครื่องที่ทำงานอย่างอิสระ โดยใช้โปรแกรมที่มีอยู่ในเครื่องนั้นเองก็ได้ ดู file server ประกอบ2. หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกับเครื่องอื่นได้ โดยใช้ระบบ DDE หรือ dynamic data exchange ดู dynamic data exchange ประกอบ




DNS (Domain Name Server)
คือการเก็บข้อมูลของชื่อ Domain และไอพีแอดเดรส เช่น
www.thaiHostSave.com มีไอพีแอดเดรส 202.57.163.223 คอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูล DNS นี่เรียกว่าดีเอ็นเอสเซิฟเวอร์ (DNS Server) เมื่อคอมพิวเตอร์เรียกเว็บไซค์
www.ThaiHostSave.com เราต้องระบุชื่อเว็บไซค์ให้กับโปรแกรมประเภทบราวเซอร์ เช่น IE จากนั้นบราวเซอร์จะทำการสอบถามไปยัง DNS Server เพื่อขอทราบไอพีแอดเดรส
www.ThaiHostSave.com จากนั้น DNS Server จะแจ้งหมายเลขไอพีแอดเดรสของ
www.ThaiHostSave.com ให้ทราบเมื่อได้ไอพีแอดเดรสของ
www.ThaiHostSave.com แล้วบราวเซอร์จะติดต่อไปยังที่อยู่ หรือ Web Server ของ
www.ThaiHostSave.com หากพบแล้วก็ทำการร้องขอข้อมูลจาก Web Server นั้น และ
Web Server นั้นจะส่งข้อมูลของ www.ThaiHostSave.com กลับมาที่บราวเซอร์ เราจึงเห็นเว็บไซต์นั้นได้
เนื่องจากชื่อ Domain นั้นสัมพันธ์กับ Web Server โดยตรง ดังนั้น การจดทะเบียนชื่อ Domain
นั้น จึงต้องอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับ Web Server ได้แก่ ชื่อ Name Server 2 ชุด
ได้แก่ Primary Name Server และ Secondary Name Server ซึ่ง Name Server
อาจเรียกเป็น Domain Name Server หรือ DNS Server ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Domain
โดยปกติระบบใช้ข้อมูลจาก Primary Name Server เป็นหลัก แต่ในกรณีที่ Primary Name Server
มีปัญหา ระบบก็จะเปลี่ยนมาใช้ Secondary Name Server แทน




Download

              คือการโอนย้ายไฟล์หรือข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกทีหนึ่ง เช่น การโอนไฟล์หรือว่าข้อมูลมาจาก อินเตอร์เนต หรือว่า จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ เข้ามาบันทึกเอาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา  ในทางกลับกัน  ถ้าเราจะนำไฟล์หรือข้อมูลของเราไปบันทึกไว้เครื่องอื่น  ที่มีการเชื่อมต่อกันมากกว่า 2  เครื่อง  การโอนไฟล์หรือข้อมูลจากเครื่องของเราไปบันทึกไว้บนเครื่องแม่ข่ายที่ใ้ห้บริการฝากข้อมูล หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น จะเรียกว่า  การ Upload
สรุป...ถ้าเรารับข้อมูลมาเรียกว่าการ Download ถ้าเราส่งข้อมูลออกไปเรียกว่าการ Upload ครับ




E-mail (Electronic-Mail)

              E-mail ย่อมาจาก Electronic-mail คือ จดหมายอีเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์(สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet)การใช้งานก็จะเหมือนเราพิมพ์ในโปรแกรม Word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับซึ่งเราเรียกว่า E-mail Address เป็นหลักในการรับส่ง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ส่งอีเมล หรือข้อความ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับ เราเรียกว่า spam และเรียกอีเมลนั้นว่า Spam mail
ประโยชน์ของ E-Mail
1.รวดเร็ว เชื่อถือได้  
2.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง และลดการใช้กระดาษ
3.ลดเวลาในการส่งเอกสารลง เพราะผู้ส่งไม่ต้องเสียเวลาไปส่งเอง หรือรอไปรษณีย์ไปส่งให้ 
4.ผู้ส่งสามารถส่งเอกสารได้ตลอดไม่จำกัดเวลา หรือระยะทางในการส่ง ในขณะที่ผู้อ่านก็สามารถเปิดอ่านเอกสารได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน 
5.สามารถส่งต่อกันได้สะดวก และผู้ส่งสามารถส่งให้ผู้รับได้พร้อมๆกันหลายคนในเวลาเดียวกัน





Freeware

               คือ  ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
(เช่นราคาขายหรือค่าลิขสิทธิ์) ฟรีแวร์เป็นลักษณะก้ำกึ่งระหว่างซอฟต์แวร์พาณิชย์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ คืออนุญาตให้กลุ่มผู้พัฒนามีส่วนร่วมในการสร้างซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่เผยแพร่รหัสต้นฉบับสู่สาธารณชนเพื่อรักษาความลับทางการค้า





Homepage

           1. สำหรับผู้ใช้เว็บ Home Page คือ เว็บเพจแรกที่ปรากฏหลังจากเริ่มใช้ web browser เช่น Nets
cape Navigator หรือ Microsoft Internet Explorer ซึ่ง browser มักจะได้รับการตั้งค่าก่อน ดังนั้น home page คือ เพจแรกของผู้ผลิต browser อย่างไรก็ตามผู้ใช้สามรถตั้งค่าการเปิด web site อื่น ๆ ได้ เช่น การระบุเป็น "http://yahoo.com" เป็น home page ของผู้ใช้ และสามารถระบุเป็นหน้าว่างได้ สำหรับกรณีที่เลือกเพจแรกจาก รายการ book mark หรือ ป้อน address ของเว็บ
          2. สำหรับผู้พัฒนา web site, home page ซึ่งเป็นเพจแรกที่ปรากฏเมื่อผู้ใช้เลือก site หรือ presence บน world wide web ซึ่ง address ของ web site คือ address ของ home page ถึงแม้ว่าผู้ใช้สามรถป้อน address (URL) ของทุกเพจ และมีการส่งเพจมาให้



Internet

               คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network)
เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network)
พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ
1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส
2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด
3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า
4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518)
จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา




Server

              คือ เครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
แก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่าย ในระบบเครื่อ ข่าย ข้อความแบบนี้อาจจะงงอยู่บ้าง สรุปอีกครั้งนะครับ
Server ในทาง computer มี 3 ความหมายคือ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้ บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
ระบบ ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการ อะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
โดย ปรกติแล้ว โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็น Server จะทำงานบนระบบปฏิบัติการ อาจจะเป็น Linux
หรือ Windows หรือ Unix ก็ได้ ดังนั้นคำว่า server จึงมิได้หมายถึง คอมพิวเตอร์
เพียงอย่างเดียวแต่ยังหมายถึงระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อีกด้วย




World wide web

                หรือที่เรามักเรียกสั้นๆว่า Web หรือ W3 (WWW) คือ คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต
ที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษที่ทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้
(กลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่) โดยผ่านทาง บราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อ
ใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน World Wide Web โดยเฉพาะ บราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน
ได้แก่ Internet Explorer ของ และ Firefox การนำเสนอข้อมูลในระบบ WWW (World Wide Web)
พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี 1989 โดยทีมงานจาก ห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Particle Physics Labs)
หรือที่รู้จักกัน ในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire)
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้มี การพัฒนา ภาษาที่ใช้สนับสนุน การเผยแพร่เอกสารของนักวิจัย หรือเอกสารเว็บ
(Web Document) จากเครื่องแม่ข่าย (Server) ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบ WWW เรียกว่า ภาษา HTML
(HyperText Markup Language)
การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (WebPage) เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบัน
ไม่เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า
ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่างๆ เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป
สามารถเผยแพร่ ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว มีลูกเล่นและเทคนิคการนำเสนอ ที่หลากหลาย
อันส่งผลให้ระบบ WWW เติบโตเป็นหนึ่ง ในรูปแบบบริการ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ ระบบอิน
 ลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ คือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ
ในระบบเครือข่าย อันเป็นที่มาของคำว่า HyperText หรือข้อความที่มีความสามารถ มากกว่าข้อความปกตินั่นเอง
จึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเว็บ สามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ ด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่มีการใช้งานนั่นเอง



Wedside

               คือ ศูนย์รวบรวมความรู้และแหล่งข้อมูลต่างๆ อาทิ เช่น ข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ บันเทิง กีฬา เป็นต้น ปัจจุบันเว็บไซด์ได้เข้ามามีบทบาทในแวดวงธุรกิจแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของบริษัท ร้านค้า ชั้นนำ ต่างๆทั่วไป เหตุผลหนึ่งในการมีเว็บไซด์นั้น เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจนั้นๆ อีกทั้งเว็บไซด์ยังสามารถตอบสนองและครอบคลุมผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างไม่มีขีดจำกัดอีกด้วย เพราะสามารถเข้าเยี่ยมชมข้อมูลเว็บไซด์จากอินเตอร์เน็ตได้ทั่วโลก
ขั้นตอนแรกในการขอเริ่มใช้บริการเว็บไซด์นั้น นักลงทุนจะต้องไปติดต่อกับตัวแทนจำหน่าย เพื่อขอจดทะเบียนชื่อเว็บไซด์ ( Domain name ) และพื้นที่ในจัดทำเว็บไซด์ ( hosting ) ก่อน โดยการจดทะเบียนขอใช้บริการเว็บไซด์นั้น จะมีสกุลดอทให้เลือกหลากหลายประเภท
จุดประสงค์หลักในการจัดสร้างเว็บไซด์นั้น
ส่วนใหญ่แล้วต้องการจัดทำขึ้นมาเพื่อพรีเซ็นต์ผลงานของตนเองหรือเพื่อเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นประโยชน์แก่สาธารณะชน และอีกกลุ่มหนึ่งจัดทำเว็บไซด์ขึ้นมาเพื่อธุรกิจการค้าหรือเพื่อสร้างรายได้ โดยธุรกิจบนเว็บไซด์หลัก มีดังต่อไปนี้
Domain and Hosting provider ตัวแทนรับจดทะเบียนชื่อโดเมนเนมและจำหน่ายพื้นที่จัดทำเว็บไซด์ เป็นการเปิดให้บริการสำหรับผู้ที่สนใจต้องการอยากมีเว็บไซด์เป็นของตนเอง หรือบริษัท ห้างร้าน ต่างๆ
E-commerce หรือ ร้านค้าออนไลน์ เป็นการเปิดให้บริการสั่ง-ซื้อสินค้าผ่านทางหน้าเว็บไซด์ อาทิเช่น เสื้อผ้า น้ำหอม เครื่องประดับ เป็นต้น
Job ศูนย์ประกาศรับสมัครงาน เป็นการจัดระบบให้บริการสมัครงานออนไลน์ โดยผู้สมัครสามารถฝาก resume หรือประวัติส่วนตัวได้โดยการสมัครสมาชิก หรือสามารถค้นหาตำแหน่งงานว่างต่างๆได้ และสำหรับบริษัทต่างๆที่ต้องการประกาศรับสมัครพนักงานในตำแหน่งต่างๆ
Horoscope ดูดวง ในปัจจุบันถือว่าเป็นธุรกิจที่สามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็วชนิดหนึ่ง หลักๆจะเป็นการทำนายในรูปแบบของการผูกดวง ไพ่ยิปซี เซียมซี ฮวงจุ้ย เป็นต้น





Web browser

              คือ เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประโยชน์ของ Web Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page





Hypertext

                 เป็นการจัดการหน่วยสารสนเทศในการติดต่อ ที่ผู้ใช้เลือกสำหรับสร้าง โดยมีลักษณะเช่นเดียวกับการเชื่อม (Link ) หรือ hypertext link
hypertext เป็นแนวคิดหลักในการนำไปสู่การคิดค้น World Wide Web ซึ่งไม่มีอะไรมากกว่าสารสนเทศ จำนวนมหาศาล ที่เชื่อมต่อโดย hypertext link จำนวนมาก
คำนี้ใช้ครั้งแรกโดย Ted Nelson ในการอธิบายระบบ Xanadu ของเขาfacebook

ข่าวสารเกี่ยวกับ คณะบริหารธุรกิจ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล